หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

เกาะที่สวยที่สุดจร้า

อันดับที่ 1 เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับที่ 2 หมู่เกาะกาลาปาโกส ประเทศเอกวาดอร์
อันดับที่ 3 เกาะเคป เบรตัน ในรัฐโนวา สโกเชีย ประเทศแคนาดา
อันดับที่ 4 เกาะคาอูอิ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
อันดับที่ 5 เกาะ Mount Desert ในรัฐเมน สหรัฐอเมริกา

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อยากรู้จังน้ำมาจากไหน?

อยากรู้เหมือนกันว่า น้ำที่เค้าปล่อยจากเขื่อน ภูมิพล ออกมา ที่ได้ยินตามข่าวต่างๆ 60 ลบ.ม. , 100 ลบ.ม. , 60 ล้าน ลบ.ม. , 100 ล้าน ลบ.ม. มันคืออะไร มันคือเท่าไหร่กันแน่ งงกันไหมครับ โดยเฉพาะตาม เวปข่าวต่างๆ นี่แหละตัวดี เขียนผิดกันเป็นว่าเล่น

 หน่วย ลบ.ม คือ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้า ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องเขียนว่า ล้าน ลบ.ม. แต่ข่าวต่างๆชอบเขียนกันแค่ เช่น 100 ลบ.ม. ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดกันมาก และ อยากรู้ไหมครับ ไอ่ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ที่เขื่อนภูมิพล ปล่อยออกมาเปรี้ยงเดียวนี่ มันมากน้อยแค่ไหน ทำไมเล่นคำเล่นตัวเลขกันเหลือเกิน ชาวบ้านตาดำๆ จะเข้าใจไหมนี่ ลองมาดูกันครับ ขอนำข้อมูลมาเสนอก่อนนะ
เริ่มจาก ปริมาณน้ำระบายออกจากเขื่อนภูมิพล ที่พูดกันเหลือเกินว่า 100 ล้าน ลบ.ม. มันมหาศาลแค่ไหน อ่านแล้วอย่าตกใจนะ
  

 ก่อนจะดูว่ามากน้อยแค่ไหน ลองมาดูว่า ปริมาณน้ำที่ไหลในแม่น้ำอยู่ทุกวัน นี่มันมากน้อยแค่ไหนก่อน จะลองยกมา 2 จุด คือ แม่น้ำแม่ปิง และ แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วง จังหวัด นครสวรรค์ จะมีสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำอยู่ มาดู
   
1. แม่น้ำแม่ปิง จะมีน้ำไหลผ่านเต็มความจุได้ ประมาณ 1700 ลบ.ม. ต่อวินาที คือ ใน 1 วินาที น้ำจะไหลผ่านแม่น้ำปิง 1700 ลบ.ม. กรณีเต็มความจุลำน้ำ

    2. แม่น้ำเจ้าพระยา จะมีน้ำไหลผ่านเต็มความจุได้ ประมาณ 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที
    อย่าเพิ่ง งงนะครับ ไหนจะ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ไหนจะ 1700 , 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที ผมกำลังจะแปลงหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกัน ดูข้อต่อไป

    3. น้ำถูกระบายจากเขื่อน ภูมิพล มาในปริมาณ มากสุดคือ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน
      1 วัน มี 24 ชม. !! 1 ชม. มี 60 นาที !! 1 นาที มี 60 วินาที
      1 วันมี 24 * 60 * 60 = 86400 วินาทีครับ คิดตามกันไปนะ
      100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน = กี่ ลบ.ม. ต่อวินาที จะทำให้เป็นหน่วยเดียวกัน เอา 86400 ไปหาร
      100,000,000 / 86400 = 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที เห็นภาพรึยังครับ สรุป น้ำที่ปล่อยระบายจากเขื่อน ภูมิพล 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน = 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที

     4. นำปริมาณน้ำ มาเทียบกัน ทำใจดีๆนะ
        ลำน้ำแม่ปิง ช่วงก่อนจังหวัด นครสวรรค์ จุเต็มลำน้ำที่ 1700 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่เขื่อนภูมิพล ปล่อยน้ำมาอยู่ที่ 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที แม่เจ้า พระพุทธเจ้า มันเหมือนกับคุณเอา แม่น้ำน้องแม่ปิง อีกสายนึง มาวิ่งขนานเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา คิดภาพสิครับ แม่น้ำแม่ปิงจุ 1700 เขื่อน ปล่อย 1157 โอ้วววววว นี่มันอะไร ถ้าผมไม่ได้คิดเป็นตัวเลขออกมา ก็ยังไม่ตกใจขนาดนี้ แต่รัฐบาลกับ กรมชลประทาน ทำเหมือน ปล่อยน้ำจำนวนน้อยๆ ไม่ได้มีความหมายอะไร

         น้ำจำนวนมหาศาลมหึมาขนาดนี้ คุณทำเหมือนไม่มีความหมายอะไร

      5. ลำน้ำเจ้าพระยา ช่วงจังหวัด นครสวรรค์ ดูในแผนภาพ ตรงจุดวัดน้ำค่าย จิรประวัติ ช่วงนั้น แม่น้ำเจ้าพระยา น้ำไหลเต็มความจุที่ 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่น้ำปล่อยจากเขื่อน ภูมิพลมา 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที แม่เจ้าอีกครั้ง มันคือปริมาณ 1 ใน 3 ของน้ำที่ไหลเต็มความจุของแม่น้ำเจ้าพระยา น้อยไหมครับ เท่ากับว่า ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ของระดับน้ำที่วิ่งอยู่

      6. ที่น่าสลดใจยิ่งนักคือ เค้าปล่อยน้ำจำนวนนี้ เป็นเวลา 7 วัน ช่วง วันที่ 5 - 11 ตุลาคม ผมขอยืนไว้อาลัยให้กับ ผู้สูญเสียทุกท่าน

      7. น้ำจำนวนที่เพิ่มเข้ามานี้ มันไม่ได้ไหลอยู่ในแม่น้ำทั้งหมดนะครับ เพราะช่วงที่เริ่มปล่อยน้ำออกมา น้ำก็เกินความจุของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ยังไม่ท่วมเพราะ มีคันกั้นน้ำของแต่ละจังหวัดอยู่ จังหวัดไหนคันกั้นน้ำดีก็ ไม่ท่วมหรือท่วมน้อย

      น้ำที่วิ่งเข้ามาเมื่อเกินความจุของลำน้ำ ก็จะไหลออกทุ่ง ออกนา เข้าเมือง ชนคันกั้นน้ำ เพิ่มความเร็วความแรงของน้ำที่แรงมากอยู่แล้ว ที่เกินความจุของลำน้ำอยู่แล้ว ให้มากขึ้นอีกเยอะ
อย่าเพิ่งเหนื่อยนะครับ เพราะยังไม่จบ เหลืออีกส่วนหนึ่งให้วิเคราะห์กัน คือช่วงเวลาที่น้ำจากเขื่อนภูมิพล วิ่งไปถึงจังหวัดต่างๆ และช่วงเวลาที่จังหวัดต่างๆน้ำท่วม ดูว่ามันมีนัยสำคัญอย่างไร
  1. ดูที่ตารางน้ำระบายออกจากเขื่อน จะเห็นว่า เขื่อนเริ่มปล่อยน้ำแรงขึ้น วันที่ 30 และจากนั้นก็มากขึ้นๆ เรื่อยๆจนเต็มที่ วันที่ 5 - 11 ตุลาคม
      ดูแผนผังที่ทำให้จะเห็นว่า น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไปอยุธยาใช้เวลา 6 วันโดยประมาณ

    น้ำเริ่มปล่อยแรงขึ้น วันที่ 30 กันยายน จากนั้น วันที่ 6 ตุลาคม นิคมอุตสาหกรรม สหรัตนนคร น้ำท่วม เรื่อยมา วันที่ 7 เป็นต้นไป นิคมโรจนะ นิคมไฮเทค นิคมบางปะอิน และ แฟคทอรี่แลน ในอยุธยา นิคมทั้งหมด ท่วมไล่เรียงจากนั้นมา ระยะห่างจากวันที่ เริ่มปล่อยน้ำแรง 30 ถึง วันที่ 6 คือ หกวันโดยประมาณ มีนัยสำคัญไหม
  2.   จากแผนผัง น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไปนครสวรรค์ ใช้เวลาประมาณ 3 วัน

     น้ำระบายจากเขื่อน ภูมิพล แรงสุด 100 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวันที่ 5 - 11 ตุลาคม น้ำเข้าพังคันกั้นน้ำใหญ่ (ไม่ใช่คันกั้นน้ำที่เรือรับจ้างพังนะครับคนละอัน) วันที่ 10 ตุลาคม ที่จังหวัดนครสวรรค์ น้ำท่วม จากวันที่ 5 ปล่อยน้ำ จนถึงวันที่  10 น้ำท่วมนครสวรรค์ มีนัยสำคัญไหมครับ
  3.   จากแผนผัง น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไป ปทุมธานี ใช้เวลาประมาณ 7 วัน

     น้ำระบายจากเขื่อน ภูมิพล แรงสุด เมื่อวันที่ 5 - 11 ตุลาคม น้ำเข้าท่วม นวนคร ปทุมธานี เมื่อ 17 ตุลาคม มีนัยสำคัญไหม
    ปล. วันเวลาที่น้ำเข้าท่วม นั้นมาจากหลายปัจจัย เพราะน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างที่บอก ส่วนใหญ่ลง ทุ่งลงนา เข้าจังหวัดต่างๆไปมากแล้ว น้ำที่เข้าอยุธยา ก็ชะลอน้ำเข้ากรุงเทพฯ น้ำที่เข้านครสวรรค์ ก็ชะลอน้ำที่เข้าอยุธยา ปทุม และกรุงเทพฯ อีก ดังนั้น น้ำก้อนมหึมานี้กำลังไหลเข้ากรุงเทพฯ  แม้ว่า เค้าจะเริ่มลดการระบายน้ำจากเขื่อน ภูมิพล แต่ก็เพิ่งลดลงตั้งแต่วันที่ 12 ดังนั้นน้ำมวลใหญ่จริงๆ จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ช่วงนี้แหละ 17 - 22 อย่างไรก็ระวังไว้ด้วย คนกรุงเทพฯ

    ดังที่เคยได้ให้ความเห็นไว้ใน สาเหตุของน้ำท่วม ตอนแรก ว่า ทำไม ไม่ปล่อยน้ำ จากเขื่อน ตั้งแต่ เดือน ก.ค. เช่น ปล่อย เป็น 30 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ตั้งแต่ ก.ค. ถ้าทำอย่างนั้น ต่อให้ผมไม่ได้เป็น นายกฯ ไม่ได้เป็น รมว. ไม่ได้เป็น อธิบดีกรมชลประทาน แต่ผมมั่นใจเหลือเกินว่า น้ำจะไม่ท่วมหนักขนาดนี้ จะไม่ท่วม ทุกนิคมฯ ขนาดนี้

    

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

นอนน้อยทำให้แก่มาก ตัดทอนอายุให้ส้ันลงไปได้ มากถึง 7 ปี

นอนน้อยทำให้แก่มาก ตัดทอนอายุให้ส้ันลงไปได้ มากถึง 7 ปี



ไม่ว่าหญิงหรือชาย หากได้นอนวันละไม่ถึง 6–8 ชม. จะทำให้อายุแก่ลงได้มากถึง 7 ปี

วารสารวิชาการ “การนอน” ของสหรัฐฯ กล่าวว่า การอดนอนและง่วงเหงาหาวนอน เป็นภัยกับการทำงานทำการ การทันเวลา ก่อให้เกิดการผิดพลาดในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนขาดสมาธิ ทั้งยังกระทบกระเทือนการงานทางสังคมต่างๆ กินไปถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจ และพลอยทำให้มีอายุสั้นด้วย

นักวิจัยของโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ศึกษาพบว่า “โทษของการอดนอน ยังโยงไปถึงการเสื่อมสติปัญญาในวัยกลางคน”

ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ได้นอนหลับเต็มอิ่มคืนละ 7 ชม. จะทำคะแนนได้สูงสุดในการทดสอบทางสติปัญญา ตามด้วยเพื่อนที่ได้นอนนานคืนละ 6 ชม. ในขณะที่พวกผู้ชาย ผู้ที่ได้นอนนานคืนละ 6-7 หรือ 8 ชม. จะทำคะแนนได้มากพอกัน นอกจากผู้ที่นอนไม่ถึง 6 ชม.เท่านั้น

คณะนักวิจัยสรุปว่า การได้นอนหลับสนิท อย่างเพียงพอ เป็นพื้นฐานของความสุขและการทำงานทำการของคนเรา.

ไม่ว่าหญิงหรือชาย หากได้นอนวันละไม่ถึง 6–8 ชม. จะทำให้อายุแก่ลงได้มากถึง 7 ปี

วารสารวิชาการ “การนอน” ของสหรัฐฯ กล่าวว่า การอดนอนและง่วงเหงาหาวนอน เป็นภัยกับการทำงานทำการ การทันเวลา ก่อให้เกิดการผิดพลาดในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนขาดสมาธิ ทั้งยังกระทบกระเทือนการงานทางสังคมต่างๆ กินไปถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจ และพลอยทำให้มีอายุสั้นด้วย

นักวิจัยของโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ศึกษาพบว่า “โทษของการอดนอน ยังโยงไปถึงการเสื่อมสติปัญญาในวัยกลางคน”

ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ได้นอนหลับเต็มอิ่มคืนละ 7 ชม. จะทำคะแนนได้สูงสุดในการทดสอบทางสติปัญญา ตามด้วยเพื่อนที่ได้นอนนานคืนละ 6 ชม. ในขณะที่พวกผู้ชาย ผู้ที่ได้นอนนานคืนละ 6-7 หรือ 8 ชม. จะทำคะแนนได้มากพอกัน นอกจากผู้ที่นอนไม่ถึง 6 ชม.เท่านั้น

คณะนักวิจัยสรุปว่า การได้นอนหลับสนิท อย่างเพียงพอ เป็นพื้นฐานของความสุขและการทำงานทำการของคนเรา.

ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท




วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุฤดูร้อน (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน
ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน
เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว
ขณะเกิดวาตภัย
พายุลมแรง 15-20 นาที ความเร็วมากกว่า 50 กม./ช.ม
เมฆทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว มีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บ ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ถ้านับในใจ 1-2-3 แล้ว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง และพายุจะห่างไปประมาณ 1 กม. ถ้าเห็นฟ้าแลบและฟ้าร้องพร้อมกัน พายุจะอยู่ใกล้มาก
สภาวะนี้จะอยู่ประมาณ 1 ชม.
หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน

การป้องกันพายุฤดูร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง

1.2 วาตภัยจากพายุฤดูหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรง

เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับคือ
1. พายุดีเปรสชั่น มีกำลังอ่อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กม./ชม.
2. พายุดีหมุนเขตร้อน มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63-117 กม./ชม.
3. พายุไต้ฝุ่น มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 118 กม./ชม.

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุหมุนเขตร้อน(ช่วง เดือนกรกฏาคม-กันยายน)
ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศดี ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
เมฆทวีขึ้นเป็นลำดับ
ฝนตกเป็นระยะๆ
ขณะเกิดวาตภัย
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา ลมพัดแน่ทิศ
ตาพายุผ่านมา ลมสงบ ท้องฟ้าแจ่มใส
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกเกือบตลอดเวลา ลมพัดกลับทิศ
หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วจะทิ้งความเสียหายไว้ตามทางผ่าน อากาศดีขึ้นเป็นลำดับ

การป้องกันพายุหมุนเขตร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ



อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร

การป้องกันอุทกภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
* ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
* หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค



ทุกขภิกขภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภค บริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

สภาวะอากาศของทุกขภิกขภัย(ฝนแล้ง)
ครึ่งหลังเดือนตุลาคม-กลางพฤษภาคม สิ้นฤดูฝน -ฤดูร้อน ฝนน้อยกว่าฤดูฝน
ปลายเดือนมิถุนายน-กลาง กรกฎาคม ฝนทิ้งช่วงมากกว่า 2 สัปดาห์
การป้องกันทุกขภิกขภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น



พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน
สภาวะอากาศก่อน/ขณะ/หลังของพายุฝนฟ้าคะนอง (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
อากาศร้อนอบอ้าว
ลมสงบ หรือลมสงบ
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
เมฆก่อตัวเป็นรูปทั่งสีเทาเข้ม ยอดเมฆสูงกว่า 10 กม.
ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง
ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางครั้งมีลุกเห็บ
หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส

การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง



คลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นกับความแรงของพายุ



แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ ภาคเหนือส่วนมากจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริกเตอร์ และเคยเกิดขนาดใหญ่สุดที่บันทึกได้ 5.6 ริกเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก วันที่ 17 ก.พ.2518
ขนาดแผ่นดินไหว
ผลกระทบ
จำนวนครั้ง/ปี
ริกเตอร์
รัศมีและความลึกไม่เกิน 100 กม.
รอบโลก
3.5-4.2
บางคนรู้สึกสั้นสะเทือน
30000
4.3-4.8
หลายคนรู้สึกสั่นสะเทือน
4800
4.9-5.4
เกือบทุกคนรู้สึกสั่นสะเทือน
1400
5.5-6.1
อาคารเสียหายเล็กน้อย
500
6.2-6.9
อาคารเสียหายปานกลาง
100
7.0-7.3
อาคารเสียหายรุนแรง
15
ตั้งแต่ 7.4
อาคารเสียหายรุนแรง
4
ข้อควรปฏิบัติ ก่อน/ขณะ/หลัง เกิดแผ่นดินไหวอันเกิดแผ่นดินไหว
เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล อุปโภค บริโภค กรณีฉุกเฉิน
เตรียมพร้อม สมาชิกในครอบครัว วางแผนอพยพหากจำเป็น
ไม่วางของหนักบนชั้นสูงๆ ยึดตู้หนักไว้กับผนังห้อง
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
อยู่ในอาคารสูง ควบคุมสติ หลบใต้โต๊ะแข็งแรง ไม่วิ่งลงกระได ลงลิฟต์
ขับรถให้หยุดรถ ควบคุมสติ อยู่ภายในรถจนการสั่นสะเทือนหยุดลง
อยู่นอกอาคาร ห่างจากอาคารสูง กำแพง เสาไฟฟ้า ไปอยู่ที่โล่งแจ้ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
ออกจากอาคารสูง รถยนต์ สำรวจผู้ประสบภัย ตรวจสอบความเสียหาย
ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่งแพทย์หากเจ็บหนัก
ยกสะพานไฟ อยู่ห่างจากสายไฟที่ไม่อยู่กับที่ ซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอทันที



แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน
การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
- บ้านที่อยู่ในที่ราบเชิงเขาอาจจะเกิดดินถล่มจากภูเขาลงมาทำความเสียหายแก่บ้านเรือนได้
สาเหตุการเกิดดินถล่ม
- ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
- การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา ทำให้สภาพดินต้องไป เมื่อฝนตกหนักนาน ๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำและไถลลงมาตามลาดเขานำเอาตะกอนดิน, ก้อนหิน, ซากไม้ล้มลง มาด้วย
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดดินถล่ม
- ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูง ๆ และต้องรีบแจ้งต่อ ๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว
- ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้
- ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้
ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด
- อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- ช่วยกันร่วมมือร่วมแรงอย่าตัดไม้ทำลายป่า
- ปลูกต้นไม้เพิ่มไว้ช่วยซับน้ำ
- ช่วยกันปลูกป่าบริเวณที่ถูกทำลายและป้องกันไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบ ๆ หมู่บ้านเมื่อมีสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานีการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลาก



ไฟป่า ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่จัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง
การป้องกันไฟป่า
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919   ตลอด 24 ชั่วโมง
* ดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในบ้านหรือกลางแจ้ง
* ตัดแต่งกิ่งไม้ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ฟ้า
* ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉินประจำอาคาร
* เก็บวัสดุ อุปกรณ์ไวไฟ สารเคมี ให้อยู่ในที่ปลอดภัย
* ซักซ้อม วางแผนหนีไฟ และเตรียมพร้อมเสมอ



เดือน
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ
กุมภาพันธ์
ไฟป่า
มีนาคม
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง
เมษายน
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง
พฤษภาคม
พายุฤดูร้อน , อุทกภัย
มิถุนายน
อุทกภัย , ฝนทิ้งช่วง
กรกฎาคม
ฝนทิ้งช่วง , พายุฝนฟ้าคะนอง ,พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย
สิงหาคม
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง
กันยายน
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักประสาทวิทยา*ชาวออสเตรีย** และผู้ก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์


ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่แคว้นโมราเวีย ตอนเขาอายุ 3 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปยังกรุงเวียนนา เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนกระทั่งปีท้ายๆ ของชีวิต ฟรอยด์เข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาตอนอายุ 17 ปี เขาสนใจการศึกษาหลากหลายสาขาของที่นี่ แม้ว่าฟรอยด์จะสนใจการวิจัยทางประสาทวิทยาเป็นหลัก แต่เขาก็จำเป็นต้องปฏิบัติงานทางคลินิก เนื่องจากปัญหาเรื่องการว่าจ้างของมหาวิทยาลัยที่เลวร้ายมากในกรณีของเขา ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและการเมืองที่ต่อต้านชาวยิว หลังจากการทำวิจัยอิสระและทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาลเวียนนามามากพอสมควร ฟรอยด์ออกมาทำงานส่วนตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางประสาทและ ฮิสทีเรีย
ระหว่างช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธี “การปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง” (catharsis) ของโจเซฟ บริวเออร์ (Joseph Breuer) เพื่อนร่วมงานของเขา ในการรักษาอาการฮิสทีเรีย ซึ่งอาการหายไปเมื่อผู้ป่วยระลึกถึงความทรงจำที่เป็นบาดแผลในขณะที่อยู่ภาย ใต้การสะกดจิต และทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ดั้งเดิมซึ่งถูกเก็บกดไว้และลืมมันไป ในการค้นคว้าความคิดนี้เพิ่มเติม ฟรอยด์ใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาวิธีการของฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์ (Jean-Martin Chacot) ในการรักษาฮิสทีเรียโดยการสะกดจิต เมื่อเดินทางกลับเวียนนา ฟรอยด์เริ่มต้นงานในการค้นหาวิธีการที่คล้ายกันในการรักษาโดยไม่ใช้การสะกดจิต ซึ่งเขาพบว่ามีข้อจำกัดที่ไม่น่าพึงพอใจ นอกจากฟรอยด์จะเรียนรู้จากการสังเกตอาการและประสบการณ์ของผู้ป่วยของเขาแล้ว เขายังใช้การวิเคราะห์ตัวเองจากความฝันอย่างเข้มงวดอีกด้วย ในปี 1895 เขาและบริวเออร์ตีพิมพ์หนังสือ Studies on Hysteria ซึ่งเป็นตัวบทที่เป็นหมุดหมายสำคัญของจิตวิเคราะห์ และในปี 1900 ผลงานชิ้นสำคัญของฟรอยด์ คือ หนังสือ The Interpretation of Dreams ก็ปรากฏขึ้น
ในช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ทำงานโดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญในระบบจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การระบายออกอิสระ (free association) และการปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจจิตไร้สำนึก โดยใช้ในการค้นหาความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้และเหตุผลของการเก็บกดนั้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ผู้ป่วยที่นอนบนเก้าอี้นอนในห้องทำงานของเขาด้วยความผ่อนคลาย ถูกร้องขอให้ระบายออกทางความคิดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ที่มีประโยชน์ และถูกร้องขอให้แสดงออกถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นในใจอย่างตรงไปตรงมา จากการรักษาผู้ป่วยและการวิเคราะห์ตัวเองของเขา ฟรอยด์มีความเชื่อว่าความผิดปกติทางจิตซึ่งไม่ปรากฏสาเหตุทางกายเกิดจากการตอบสนองในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic reaction) ต่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (psychological shock) โดยทั่วไปนั้นมาจากเรื่องเพศ และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความกระทบกระเทือนทางจิตใจเหล่านั้นจะส่งผลทาง อ้อมต่อเนื้อหาของความฝันและกิจกรรมของจิตสำนึก แม้มันจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกก็ตาม
ฟรอยด์ตีพิมพ์หนังสือ The Psychopathology for Everyday Life ในปี 1904 และอีก 3 เล่มในปีต่อมา เช่น Three Essay on the Theory of Sexuality ซึ่งผลักดันความคิดของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของสัญชาติญาณทางเพศของมนุษย์ หรือลิบิโด (libido) รวมถึงทฤษฎีลักษณะทางเพศในวัยเด็ก (childhood sexuality) และปมออดิปุส (Oedipus complex) ในขณะที่ความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ในต้นทศวรรษ 1900 ฟรอยด์ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่สนใจงานของเขา เช่น คาร์ล ยุง (Carl Jung) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรงค์ (Otto Rank) มาพบปะเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่บ้านของ เขา และต่อมากลายเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า Vienna Psychological Society แม้ว่าในที่สุดยุงและแอดเลอร์จะแยกตัวออกไปตั้งทฤษฎีและสำนักในการวิเคราะห์ ของตัวเอง แต่การสนับสนุนของพวกเขาในช่วงแรกได้ช่วยวางรากฐานให้จิตวิเคราะห์เป็นกระแสแนวคิด (movement) ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ในปี 1909 ฟรอยด์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคล๊าก เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐแมซซาชูเซต โดยอธิการบดี เซอร์ จี. แสตนลีย์ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) (1844 – 1924) นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง และฟรอยด์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากที่นี่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์มีชื่อเสียงมากขึ้นจากการที่จิตวิเคราะห์ได้รับความสนใจจากแวดวง ปัญญาชนและได้รับความนิยมจากสื่อ
ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังที่เรียกว่า “สัญชาติญาณ” (instincts) หรือ “แรงขับ” (drives) ต่อมา เขาเชื่อในการดำรงอยู่ของสัญชาติญาณแห่งความตาย (death instinct) หรือความปรารถนาในความตาย (death wish หรือ Thanatos) ทั้งความปรารถนาในความตายที่มุ่งไปยังภายนอก เช่น ความก้าวร้าว และความปรารถนาในความหมายที่มุ่งเข้าสู่ภายใน เช่น พฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง เขาสร้างทฤษฎีที่รอบด้านในเรื่องโครงสร้างของจิต (psyche structure) โดยแบ่งโครงสร้างของจิตออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ อิด (id) ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความพึงพอใจในความปรารถนาขั้นพื้นฐานและการปกป้อง ตัวเอง (self-preservation). มันทำงานโดยเกี่ยวข้องกับหลักแห่งความปรารถนา (pleasure principle) และอยู่นอกขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางสังคมและข้อกำหนดทางศีลธรรม ส่วนต่อมาคือ อีโก (ego) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผล อีโก้ควบคุมพลังของอิดและนำมันเข้าสู่แนวทางของหลักแห่งความจริง (reality principle) และนำพลังของอิดไปสู่พฤติกรรมที่สามารถยอมรับได้ และส่วนสุดท้ายคือ ซุปเปอร์อีโก้ (superego) หรือศีลธรรม ซึ่งพัฒนาขึ้นในวัยเด็ก ซุปเปอร์อีโก้คอยสอดส่องและตรวจสอบอีโก้ ปรับเปลี่ยนค่านิยมภายนอกให้เข้าสู่ภายในบุคคล เป็นกฎแห่งการควบคุมตัวเองซึ่งใช้ในการต่อต้านอิด ฟรอยด์มองพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลว่าเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วนของจิต
แก่นของโครงสร้างทางจิตของฟรอยด์ คือการเก็บกดความต้องการทางสัญชาติญาณ ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเก็บกดเกิดขึ้นผ่านชุดของกลไกป้องกันตัวเอง (defense mechanisms) ในกระบวนการของจิตไร้สำนึก ฟรอยด์เป็นผู้ตั้งชื่อกลไกหลักๆ เหล่านี้ เช่น การปฏิเสธ (denial – การไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล) การหาเหตุผลให้กับตัวเอง (rationalization – การอธิบายการกระทำของตนเองด้วยจุดมุ่งหมายที่สามารถยอมรับได้) การแทนที่ (displacement – การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เก็บกดไว้ไปเป็นความรู้สึกที่สามารถยอมรับได้) การซัดโทษ (projection – การถ่ายเทความปรารถนาที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปยังบุคคลอื่น) และการชดเชย (sublimation – การเปลี่ยนความปรารถนาทางสัญญาติญาณที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สามารถยอมรับได้)
ฟรอยด์ปรับปรุงทฤษฎีของเขาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1920 และเปลี่ยนแปลงแง่มุมพื้นฐานส่วนหนึ่งของเขา เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจและทฤษฎีวิตกกังวล ในปี 1923 เขาเป็นมะเร็งที่กราม (เกิดจากการสูบซิการ์อย่างหนักตลอดชีวิตของเขา) และเข้ารับผ่าตัดหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา การเกิดขึ้นของนาซีในทศวรรษ 1930 ทำให้ชีวิตในเวียนนาของฟรอยด์ไม่ปลอดภัยมากขึ้น ในปี 1938 เขาจึงอพยพไปยังกรุงลอนดอน เป็นเวลา 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แนวคิดและทฤษฎีจำนวนมากของฟรอยด์ เช่น บทบาทของจิตไร้สำนึก ผลกระทบจากประสบการณ์ในวัยเด็กต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ และปฏิบัติการของกลไกป้องกันตัวเอง ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างทั้งความขัดแย้งทางความคิดและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง หนังสือเล่มอื่นๆ ของเขา ได้แก่ Totem and Taboo (1913) General Introduction to Psychoanalysis (1916) The Ego and the Id (1923) และ Civilization and Its Discontents (1930)

เคร็ดลับ ที่ไม่ลับ

การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย  3  รูปแบบหลัก
แบบที่ 1  ผ่านคุณสมบัติ  ->  สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio

แบบที่ 2  ผ่านคุณสมบัติ  ->  สอบข้อเขียน  + O-NET, A-NET ->
สอบสัมภาษณ์  + ดู Portfolio

แบบที่ 3  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบสัมภาษณ์  + ดู Portfolio

คุณสมบัติ
         ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะหรือสาขาเพื่อที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป

การสอบข้อเขียน
          ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด   เช่น สอบตรงนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยก็จะต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมาย มีความสามารถในการจับใจความ

การสอบสัมภาษณ์      
             โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะหรือสาขา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
            การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ      จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ  ลักษณะข้อสอบเหมือนข้อสอบอัตนัยโดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น  นักเรียนต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะหรือสาขานั้น
            การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมความสนใจ      จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียนว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงไร  คำถามที่มักพบบ่อยเช่น  "ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?"

Portfolio
     อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์ คือ แฟ้มสะสมงานหรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายขึ้น  ที่สำคัญ "คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ" ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

GAT  
 ย่อมาจาก  General  Aptitude  Test
 เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป  เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย  โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก

  เนื้อหา
  ->  การอ่าน  เขียน  คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  50%
  ->  การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  50%

ลักษณะข้อสอบ  GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย
  ->  คะแนน  300  คะแนน  เวลาสอบ  3  ชั่วโมง
  ->  ข้อสอบเน้น  Content  Free  และ  Fair
  ->  เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก
  ->  มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ

 จัดสอบปีละ  3  ครั้ง  (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม )
  ->  คะแนนใช้ได้  2  ปี  เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด  (สอบได้ตั้งแต่ม.4)


PAT  
 ย่อมาจาก   Professional  Aptitude  Test
 เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ  แบ่งเป็นทั้งหมด  6  ชุด  ประกอบด้วย

  PAT 1  วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
  -> เนื้อหา   เช่น  Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus  ฯลฯ
  ->  ลัษณะข้อสอบ  Perceptual  Ability, Calculation  skills, Quantitative  Reasoning, Math Reading Skills

  PAT 2  วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
  ->  เนื้อหา   ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
  ->  ลักษณะข้อสอบ   Perceptual  Ability, Sciences  Reading  Ability, Science  Problem  Solving  Ability ฯลฯ

  PAT 3  วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น  Engineering  Mathematics,Engineering Sciences, Life  Sciences, IT ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ   Engineering  Aptitude  i.e.  Multidimensional  Preceptual  Ability, Calculation  Skills, Engineering  Reading  Ability, Engineering  Problem  Solving  Ability

  PAT 4  วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น   Architectural  Math  and Sciences ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ  Space  Relations, Multidimensional  Perceptual  Ability, Architectural  Problem  Solving  Ability

  PAT 5  วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
    ->  เนื้อหา  เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ  ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading  Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย  การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน  ครู  ผู้บริหารโรงเรียน  ฯลฯ

  PAT 6  วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น  ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์  ดนตรี  นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์  ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ   ความคิดสร้างสรรค์  ฯลฯ

  PAT 7  วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่  2
    ->  เนื้อหา   จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ  เช่น  Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
    ->  ลักษณะข้อสอบ   Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills


อย่าลืมอ่านะคะเพื่อนๆ

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การทำช็อกโกแล็ต

อุปกรณ์ที่ใช้




ช็อกโกแลต

ที่ซื้อมาก็คือ ดาร์คช็อกโกแลตแบบแท่งยี่ห้อ Sarotti No. 1 Ecuador 72% Cocoa น้ำหนัก 100 กรัม 94 บาท และไวท์ช็อกโกแล็ตแบบก้อนเล็กยี่ห้อ Morinaga Dars น้ำหนัก 50 กรัม 29 บาท (ราคาลดจากปกติ 42 บาท) ดาร์คช็อกโกแลตมีน้ำตาลแค่ 24% เท่านั้นเอง ส่วนไวท์ช็อกโกแลตมี 42%

แม่พิมพ์

ไปได้พิมพ์รูปหัวใจขนาดกลางและใหญ่แบบนี้ที่ร้านไดโซ อันละ 60 บาทเท่ากัน

ถ้วยกระเบื้อง

เอาไว้เป็นภาชนะตุ๋นช็อกโกแลต บางสูตรบอกว่าเอากระเบื้องทนไฟ แต่เพราะที่บ้านไม่มีก็เลยเอาถ้วยชามข้าวนี่แหละง่ายดี

หม้อ

สำหรับใส่น้ำต้มให้ร้อน แล้วเอาถ้วยกระเบื้องวางเพื่อให้ช็อกโกแลตร้อนจนละลาย

วิธีทำช็อคโกแลตทำมือ

1. ลองวางถ้วยกระเบื้องในหม้อ ตวงน้ำใส่ในหม้อให้อยู่ในระดับ 1/2 ของถ้วย เอาแค่ครึ่งเดียวพอ เดี๋ยวเกิดน้ำเดือดกระฉอกเข้าถ้วยช็อกโกแลตละเสร็จกัน ระวังอย่าให้มีน้ำหกในถ้วยกระเบื้อง ถ้ามีต้องเช็ดออกให้แห้งก่อนใส่ช็อกโกแลต

2. เอาถ้วยออกมา แล้วหักช็อกโกแลตเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในถ้วย

3. เริ่มต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลาง-อ่อน ให้น้ำร้อนปานกลางเกือบเดือด ระหว่างนี้ก็เตรียมพิมพ์

4. ใช้ไฟอ่อน เอาถ้วยใส่ช็อกโกแลตวางลงไปตรงกลางหม้อ หมั่นคนให้ละลาย

5. เมื่อช็อกโกแลตละลายดี ผิวหน้าเป็นมันก็ยกลง ใช้เวลาประมาณ 5 นาที

6. ใช้ช้อนตักช็อกโกแลตใส่ในพิมพ์

7. ทิ้งไว้ให้เย็นหรือเอาเข้าตู้เย็นสักพัก แกะออกจากพิมพ์โดยคว่ำพิมพ์แล้วตบก้น

ข้อแนะนำอื่น ๆ

• ถ้ามีเตาไมโครเวฟ ก็ใส่ช็อกโกแลตในถ้วยเอาเข้าไมโครเวฟ ไฟ 70 องศา นาน 30 วินาที แล้วนำออกมาคน ถ้าช็อกโกแลตยังละลายไม่หมด ให้อบต่ออีก 15-30 วินาทีจนกว่าจะละลายหมด

• อาจใส่อัลมอนด์บดหรือถั่วผสมลงในขั้นตอนที่ 4 ก็ได้

ข้อควรระวัง

• อย่าให้น้ำหยดลงในหม้อขณะตุ๋นช็อกโกแลตเด็ดขาด ช็อกโกแลตจะแตกตัวไม่เกาะกัน (ดังนั้นไม่ต้องปิดฝาเพราะจะทำให้มีไอน้ำเกาะ)

ทีนี้มารีวิวกันอีกทีว่าไอ้ที่เรามั่วซั่วทำ ขลุกขลักยังไงบ้าง 555

1. ถ้วยกระเบื้องกับหม้อใส่น้ำ

วันแรกที่ลองทำไวท์ช็อกโกแลต ลืมไปว่าต้องเอาถ้วยใส่ในน้ำร้อนแล้วดันใช้ถ้วยใหญ่จนเหลือช่องนิดเดียวให้แหย่นิ้ววางถ้วย ดุ๊ก ๆ ดิ๊ก ๆ อยู่เป็นนานกว่าจะวางลงไปได้ วันที่สองทำดาร์คช็อกฯ ก็เลยเปลี่ยนมาใช้เป็นถ้วยขนาดเล็กลงมาหน่อย

2. การหักช็อกโกแลต

ตอนทำไวท์ช็อกฯ มันเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่แล้วเลยไม่ลำบาก เทพรวดจากถาดได้เลย แต่อีตอนทำดาร์คช็อกฯ นี่ต้องใส่ถุงพลาสติกหักเป็นชิ้นย่อยเพราะกลัวมือเหงื่อออกแล้วจะทำให้มีผลต่อการเกาะตัวของช็อกโกแลตทีหลัง พลาดไปนิดตรงที่ไม่ได้หักให้มันย่อยไปอีกเลยต้องออกแรงบี้ช็อกฯ กันอีทีในชามหน้าเตาร้อน ๆ เฮ่อ…

3. การตุ๋น

ตอนแรกใส่ถ้วยลงไปแล้วดันลืมเบาไฟ น้ำเลยเดือดปุด ๆ จนถ้วยสั่นเป็นเจ้าเข้า ต้องรีบเบาไฟให้อ่อนที่สุด เพราะกลัวน้ำกระฉอกเข้าถ้วยซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เอวัง

4. การตักช็อกโกแลตเหลวใส่พิมพ์

วันแรกที่ลองทำปรากฎว่าไวท์ช็อกโกแลตเหลวที่ได้ค่อนข้างข้นหนืด เวลาตักใส่พิมพ์นี่ต้องใช้ช้อนเขี่ยปาด ๆ ให้เต็มพิมพ์ แล้วก็มาเจอปัญหาว่า ผิวหน้าไม่เรียบ ช็อกฯ ตั้งขึ้นเป็นยอดสูงปรี๊ดเชียว เลยต้องแก้ไขโดยการเอามีดปาดผิวหน้าให้ช็อก ฯ เรียบพอดีถาดพิม์ (รีบไปหน่อย มีดที่คว้ามาดันเป็นอีโต้สับหมูซะนี่ -”-) ปาดแล้วถาดพิมพ์ก็เลยดูเลอะ ๆ หน่อย พอใส่พิมพ์เล็กไปสองหลุมแล้วก็มาใส่พิมพ์ใหญ่ คิดว่าจะทำเล็กสองใหญ่สอง แต่ปรากฏว่าช็อกโกแลตดันเหลือไม่พอทำขนาดใหญ่อีกอันเลยต้องตักออกไปใส่หลุมถาดเล็ก ไอ้หลุมถาดใหญ่อันนึงก็เลยมีเศษค้างไว้ สรุปคือ ไวท์ช็อกโกแลต 50 กรัม x 2 กล่องทำใส่พิมพ์เล็กได้ 3 หลุม + พิมพ์ใหญ่ 1 หลุม



พอวันที่สองใช้ดาร์คช็อกโกแลต ช็อกฯ ที่ได้เหลวใช้ได้เลย ใช้ช้อนตักใส่พิมพ์ปุ๊บก็จะแผ่เต็มหลุมเอง แม้ว่าพอตักจนเต็มแล้วตั้งยอดนิดหน่อย ก็ถือถาดพิมพ์ตั้งฉากกับพื้นแล้วส่ายซ้ายส่ายขวา ยอดมันก็ยุบตัวจนผิวหน้าเรียบไปเอง (ไม่ต้องพึ่งอีโต้) แสดงว่าคุณภาพของช็อกโกแลตน่าจะมีผลต่อความเหลวเมื่อละลายด้วย ทั้งนี้อาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ อีกก็ต้องลองกันต่อไป สรุปว่าคือ ดาร์คช็อกโกแลต 100 กรัมทำใส่พิมพ์เล็กได้ 4 หลุม + พิมพ์ใหญ่ 1 หลุม

5. การแกะออกจากพิมพ์

ไม่ยากอะไร คว่ำพิมพ์แล้วตบก้น ช็อกโกแลตก็หลุดผัวะออกมา ปัญหาอยู่ที่ว่ามันออกมาที 4 ชิ้นเลย โชคดีที่ใช้จานใหญ่หน่อยมารองเลยรับได้หมด จากนั้นก็เอากระดาษฟอยล์ตัดเป็นชิ้นเล็กมาห่อแยกชิ้น เสร็จเรียบร้อย ได้มา 9 ชิ้น (7 ชิ้นเล็กและ 2 ชิ้นใหญ่)