หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อยากรู้จังน้ำมาจากไหน?

อยากรู้เหมือนกันว่า น้ำที่เค้าปล่อยจากเขื่อน ภูมิพล ออกมา ที่ได้ยินตามข่าวต่างๆ 60 ลบ.ม. , 100 ลบ.ม. , 60 ล้าน ลบ.ม. , 100 ล้าน ลบ.ม. มันคืออะไร มันคือเท่าไหร่กันแน่ งงกันไหมครับ โดยเฉพาะตาม เวปข่าวต่างๆ นี่แหละตัวดี เขียนผิดกันเป็นว่าเล่น

 หน่วย ลบ.ม คือ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้า ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องเขียนว่า ล้าน ลบ.ม. แต่ข่าวต่างๆชอบเขียนกันแค่ เช่น 100 ลบ.ม. ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดกันมาก และ อยากรู้ไหมครับ ไอ่ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ที่เขื่อนภูมิพล ปล่อยออกมาเปรี้ยงเดียวนี่ มันมากน้อยแค่ไหน ทำไมเล่นคำเล่นตัวเลขกันเหลือเกิน ชาวบ้านตาดำๆ จะเข้าใจไหมนี่ ลองมาดูกันครับ ขอนำข้อมูลมาเสนอก่อนนะ
เริ่มจาก ปริมาณน้ำระบายออกจากเขื่อนภูมิพล ที่พูดกันเหลือเกินว่า 100 ล้าน ลบ.ม. มันมหาศาลแค่ไหน อ่านแล้วอย่าตกใจนะ
  

 ก่อนจะดูว่ามากน้อยแค่ไหน ลองมาดูว่า ปริมาณน้ำที่ไหลในแม่น้ำอยู่ทุกวัน นี่มันมากน้อยแค่ไหนก่อน จะลองยกมา 2 จุด คือ แม่น้ำแม่ปิง และ แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วง จังหวัด นครสวรรค์ จะมีสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำอยู่ มาดู
   
1. แม่น้ำแม่ปิง จะมีน้ำไหลผ่านเต็มความจุได้ ประมาณ 1700 ลบ.ม. ต่อวินาที คือ ใน 1 วินาที น้ำจะไหลผ่านแม่น้ำปิง 1700 ลบ.ม. กรณีเต็มความจุลำน้ำ

    2. แม่น้ำเจ้าพระยา จะมีน้ำไหลผ่านเต็มความจุได้ ประมาณ 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที
    อย่าเพิ่ง งงนะครับ ไหนจะ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ไหนจะ 1700 , 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที ผมกำลังจะแปลงหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกัน ดูข้อต่อไป

    3. น้ำถูกระบายจากเขื่อน ภูมิพล มาในปริมาณ มากสุดคือ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน
      1 วัน มี 24 ชม. !! 1 ชม. มี 60 นาที !! 1 นาที มี 60 วินาที
      1 วันมี 24 * 60 * 60 = 86400 วินาทีครับ คิดตามกันไปนะ
      100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน = กี่ ลบ.ม. ต่อวินาที จะทำให้เป็นหน่วยเดียวกัน เอา 86400 ไปหาร
      100,000,000 / 86400 = 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที เห็นภาพรึยังครับ สรุป น้ำที่ปล่อยระบายจากเขื่อน ภูมิพล 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน = 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที

     4. นำปริมาณน้ำ มาเทียบกัน ทำใจดีๆนะ
        ลำน้ำแม่ปิง ช่วงก่อนจังหวัด นครสวรรค์ จุเต็มลำน้ำที่ 1700 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่เขื่อนภูมิพล ปล่อยน้ำมาอยู่ที่ 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที แม่เจ้า พระพุทธเจ้า มันเหมือนกับคุณเอา แม่น้ำน้องแม่ปิง อีกสายนึง มาวิ่งขนานเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา คิดภาพสิครับ แม่น้ำแม่ปิงจุ 1700 เขื่อน ปล่อย 1157 โอ้วววววว นี่มันอะไร ถ้าผมไม่ได้คิดเป็นตัวเลขออกมา ก็ยังไม่ตกใจขนาดนี้ แต่รัฐบาลกับ กรมชลประทาน ทำเหมือน ปล่อยน้ำจำนวนน้อยๆ ไม่ได้มีความหมายอะไร

         น้ำจำนวนมหาศาลมหึมาขนาดนี้ คุณทำเหมือนไม่มีความหมายอะไร

      5. ลำน้ำเจ้าพระยา ช่วงจังหวัด นครสวรรค์ ดูในแผนภาพ ตรงจุดวัดน้ำค่าย จิรประวัติ ช่วงนั้น แม่น้ำเจ้าพระยา น้ำไหลเต็มความจุที่ 3500 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่น้ำปล่อยจากเขื่อน ภูมิพลมา 1157.4 ลบ.ม. ต่อวินาที แม่เจ้าอีกครั้ง มันคือปริมาณ 1 ใน 3 ของน้ำที่ไหลเต็มความจุของแม่น้ำเจ้าพระยา น้อยไหมครับ เท่ากับว่า ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ของระดับน้ำที่วิ่งอยู่

      6. ที่น่าสลดใจยิ่งนักคือ เค้าปล่อยน้ำจำนวนนี้ เป็นเวลา 7 วัน ช่วง วันที่ 5 - 11 ตุลาคม ผมขอยืนไว้อาลัยให้กับ ผู้สูญเสียทุกท่าน

      7. น้ำจำนวนที่เพิ่มเข้ามานี้ มันไม่ได้ไหลอยู่ในแม่น้ำทั้งหมดนะครับ เพราะช่วงที่เริ่มปล่อยน้ำออกมา น้ำก็เกินความจุของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ยังไม่ท่วมเพราะ มีคันกั้นน้ำของแต่ละจังหวัดอยู่ จังหวัดไหนคันกั้นน้ำดีก็ ไม่ท่วมหรือท่วมน้อย

      น้ำที่วิ่งเข้ามาเมื่อเกินความจุของลำน้ำ ก็จะไหลออกทุ่ง ออกนา เข้าเมือง ชนคันกั้นน้ำ เพิ่มความเร็วความแรงของน้ำที่แรงมากอยู่แล้ว ที่เกินความจุของลำน้ำอยู่แล้ว ให้มากขึ้นอีกเยอะ
อย่าเพิ่งเหนื่อยนะครับ เพราะยังไม่จบ เหลืออีกส่วนหนึ่งให้วิเคราะห์กัน คือช่วงเวลาที่น้ำจากเขื่อนภูมิพล วิ่งไปถึงจังหวัดต่างๆ และช่วงเวลาที่จังหวัดต่างๆน้ำท่วม ดูว่ามันมีนัยสำคัญอย่างไร
  1. ดูที่ตารางน้ำระบายออกจากเขื่อน จะเห็นว่า เขื่อนเริ่มปล่อยน้ำแรงขึ้น วันที่ 30 และจากนั้นก็มากขึ้นๆ เรื่อยๆจนเต็มที่ วันที่ 5 - 11 ตุลาคม
      ดูแผนผังที่ทำให้จะเห็นว่า น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไปอยุธยาใช้เวลา 6 วันโดยประมาณ

    น้ำเริ่มปล่อยแรงขึ้น วันที่ 30 กันยายน จากนั้น วันที่ 6 ตุลาคม นิคมอุตสาหกรรม สหรัตนนคร น้ำท่วม เรื่อยมา วันที่ 7 เป็นต้นไป นิคมโรจนะ นิคมไฮเทค นิคมบางปะอิน และ แฟคทอรี่แลน ในอยุธยา นิคมทั้งหมด ท่วมไล่เรียงจากนั้นมา ระยะห่างจากวันที่ เริ่มปล่อยน้ำแรง 30 ถึง วันที่ 6 คือ หกวันโดยประมาณ มีนัยสำคัญไหม
  2.   จากแผนผัง น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไปนครสวรรค์ ใช้เวลาประมาณ 3 วัน

     น้ำระบายจากเขื่อน ภูมิพล แรงสุด 100 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวันที่ 5 - 11 ตุลาคม น้ำเข้าพังคันกั้นน้ำใหญ่ (ไม่ใช่คันกั้นน้ำที่เรือรับจ้างพังนะครับคนละอัน) วันที่ 10 ตุลาคม ที่จังหวัดนครสวรรค์ น้ำท่วม จากวันที่ 5 ปล่อยน้ำ จนถึงวันที่  10 น้ำท่วมนครสวรรค์ มีนัยสำคัญไหมครับ
  3.   จากแผนผัง น้ำจากเขื่อน ภูมิพล วิ่งไป ปทุมธานี ใช้เวลาประมาณ 7 วัน

     น้ำระบายจากเขื่อน ภูมิพล แรงสุด เมื่อวันที่ 5 - 11 ตุลาคม น้ำเข้าท่วม นวนคร ปทุมธานี เมื่อ 17 ตุลาคม มีนัยสำคัญไหม
    ปล. วันเวลาที่น้ำเข้าท่วม นั้นมาจากหลายปัจจัย เพราะน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างที่บอก ส่วนใหญ่ลง ทุ่งลงนา เข้าจังหวัดต่างๆไปมากแล้ว น้ำที่เข้าอยุธยา ก็ชะลอน้ำเข้ากรุงเทพฯ น้ำที่เข้านครสวรรค์ ก็ชะลอน้ำที่เข้าอยุธยา ปทุม และกรุงเทพฯ อีก ดังนั้น น้ำก้อนมหึมานี้กำลังไหลเข้ากรุงเทพฯ  แม้ว่า เค้าจะเริ่มลดการระบายน้ำจากเขื่อน ภูมิพล แต่ก็เพิ่งลดลงตั้งแต่วันที่ 12 ดังนั้นน้ำมวลใหญ่จริงๆ จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ช่วงนี้แหละ 17 - 22 อย่างไรก็ระวังไว้ด้วย คนกรุงเทพฯ

    ดังที่เคยได้ให้ความเห็นไว้ใน สาเหตุของน้ำท่วม ตอนแรก ว่า ทำไม ไม่ปล่อยน้ำ จากเขื่อน ตั้งแต่ เดือน ก.ค. เช่น ปล่อย เป็น 30 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ตั้งแต่ ก.ค. ถ้าทำอย่างนั้น ต่อให้ผมไม่ได้เป็น นายกฯ ไม่ได้เป็น รมว. ไม่ได้เป็น อธิบดีกรมชลประทาน แต่ผมมั่นใจเหลือเกินว่า น้ำจะไม่ท่วมหนักขนาดนี้ จะไม่ท่วม ทุกนิคมฯ ขนาดนี้