หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักประสาทวิทยา*ชาวออสเตรีย** และผู้ก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์


ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่แคว้นโมราเวีย ตอนเขาอายุ 3 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปยังกรุงเวียนนา เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนกระทั่งปีท้ายๆ ของชีวิต ฟรอยด์เข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาตอนอายุ 17 ปี เขาสนใจการศึกษาหลากหลายสาขาของที่นี่ แม้ว่าฟรอยด์จะสนใจการวิจัยทางประสาทวิทยาเป็นหลัก แต่เขาก็จำเป็นต้องปฏิบัติงานทางคลินิก เนื่องจากปัญหาเรื่องการว่าจ้างของมหาวิทยาลัยที่เลวร้ายมากในกรณีของเขา ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและการเมืองที่ต่อต้านชาวยิว หลังจากการทำวิจัยอิสระและทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาลเวียนนามามากพอสมควร ฟรอยด์ออกมาทำงานส่วนตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางประสาทและ ฮิสทีเรีย
ระหว่างช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธี “การปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง” (catharsis) ของโจเซฟ บริวเออร์ (Joseph Breuer) เพื่อนร่วมงานของเขา ในการรักษาอาการฮิสทีเรีย ซึ่งอาการหายไปเมื่อผู้ป่วยระลึกถึงความทรงจำที่เป็นบาดแผลในขณะที่อยู่ภาย ใต้การสะกดจิต และทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ดั้งเดิมซึ่งถูกเก็บกดไว้และลืมมันไป ในการค้นคว้าความคิดนี้เพิ่มเติม ฟรอยด์ใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาวิธีการของฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์ (Jean-Martin Chacot) ในการรักษาฮิสทีเรียโดยการสะกดจิต เมื่อเดินทางกลับเวียนนา ฟรอยด์เริ่มต้นงานในการค้นหาวิธีการที่คล้ายกันในการรักษาโดยไม่ใช้การสะกดจิต ซึ่งเขาพบว่ามีข้อจำกัดที่ไม่น่าพึงพอใจ นอกจากฟรอยด์จะเรียนรู้จากการสังเกตอาการและประสบการณ์ของผู้ป่วยของเขาแล้ว เขายังใช้การวิเคราะห์ตัวเองจากความฝันอย่างเข้มงวดอีกด้วย ในปี 1895 เขาและบริวเออร์ตีพิมพ์หนังสือ Studies on Hysteria ซึ่งเป็นตัวบทที่เป็นหมุดหมายสำคัญของจิตวิเคราะห์ และในปี 1900 ผลงานชิ้นสำคัญของฟรอยด์ คือ หนังสือ The Interpretation of Dreams ก็ปรากฏขึ้น
ในช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ทำงานโดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญในระบบจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การระบายออกอิสระ (free association) และการปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจจิตไร้สำนึก โดยใช้ในการค้นหาความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้และเหตุผลของการเก็บกดนั้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ผู้ป่วยที่นอนบนเก้าอี้นอนในห้องทำงานของเขาด้วยความผ่อนคลาย ถูกร้องขอให้ระบายออกทางความคิดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ที่มีประโยชน์ และถูกร้องขอให้แสดงออกถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นในใจอย่างตรงไปตรงมา จากการรักษาผู้ป่วยและการวิเคราะห์ตัวเองของเขา ฟรอยด์มีความเชื่อว่าความผิดปกติทางจิตซึ่งไม่ปรากฏสาเหตุทางกายเกิดจากการตอบสนองในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic reaction) ต่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (psychological shock) โดยทั่วไปนั้นมาจากเรื่องเพศ และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความกระทบกระเทือนทางจิตใจเหล่านั้นจะส่งผลทาง อ้อมต่อเนื้อหาของความฝันและกิจกรรมของจิตสำนึก แม้มันจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกก็ตาม
ฟรอยด์ตีพิมพ์หนังสือ The Psychopathology for Everyday Life ในปี 1904 และอีก 3 เล่มในปีต่อมา เช่น Three Essay on the Theory of Sexuality ซึ่งผลักดันความคิดของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของสัญชาติญาณทางเพศของมนุษย์ หรือลิบิโด (libido) รวมถึงทฤษฎีลักษณะทางเพศในวัยเด็ก (childhood sexuality) และปมออดิปุส (Oedipus complex) ในขณะที่ความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ในต้นทศวรรษ 1900 ฟรอยด์ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่สนใจงานของเขา เช่น คาร์ล ยุง (Carl Jung) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรงค์ (Otto Rank) มาพบปะเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่บ้านของ เขา และต่อมากลายเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า Vienna Psychological Society แม้ว่าในที่สุดยุงและแอดเลอร์จะแยกตัวออกไปตั้งทฤษฎีและสำนักในการวิเคราะห์ ของตัวเอง แต่การสนับสนุนของพวกเขาในช่วงแรกได้ช่วยวางรากฐานให้จิตวิเคราะห์เป็นกระแสแนวคิด (movement) ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ในปี 1909 ฟรอยด์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคล๊าก เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐแมซซาชูเซต โดยอธิการบดี เซอร์ จี. แสตนลีย์ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) (1844 – 1924) นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง และฟรอยด์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากที่นี่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์มีชื่อเสียงมากขึ้นจากการที่จิตวิเคราะห์ได้รับความสนใจจากแวดวง ปัญญาชนและได้รับความนิยมจากสื่อ
ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังที่เรียกว่า “สัญชาติญาณ” (instincts) หรือ “แรงขับ” (drives) ต่อมา เขาเชื่อในการดำรงอยู่ของสัญชาติญาณแห่งความตาย (death instinct) หรือความปรารถนาในความตาย (death wish หรือ Thanatos) ทั้งความปรารถนาในความตายที่มุ่งไปยังภายนอก เช่น ความก้าวร้าว และความปรารถนาในความหมายที่มุ่งเข้าสู่ภายใน เช่น พฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง เขาสร้างทฤษฎีที่รอบด้านในเรื่องโครงสร้างของจิต (psyche structure) โดยแบ่งโครงสร้างของจิตออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ อิด (id) ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความพึงพอใจในความปรารถนาขั้นพื้นฐานและการปกป้อง ตัวเอง (self-preservation). มันทำงานโดยเกี่ยวข้องกับหลักแห่งความปรารถนา (pleasure principle) และอยู่นอกขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางสังคมและข้อกำหนดทางศีลธรรม ส่วนต่อมาคือ อีโก (ego) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผล อีโก้ควบคุมพลังของอิดและนำมันเข้าสู่แนวทางของหลักแห่งความจริง (reality principle) และนำพลังของอิดไปสู่พฤติกรรมที่สามารถยอมรับได้ และส่วนสุดท้ายคือ ซุปเปอร์อีโก้ (superego) หรือศีลธรรม ซึ่งพัฒนาขึ้นในวัยเด็ก ซุปเปอร์อีโก้คอยสอดส่องและตรวจสอบอีโก้ ปรับเปลี่ยนค่านิยมภายนอกให้เข้าสู่ภายในบุคคล เป็นกฎแห่งการควบคุมตัวเองซึ่งใช้ในการต่อต้านอิด ฟรอยด์มองพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลว่าเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วนของจิต
แก่นของโครงสร้างทางจิตของฟรอยด์ คือการเก็บกดความต้องการทางสัญชาติญาณ ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเก็บกดเกิดขึ้นผ่านชุดของกลไกป้องกันตัวเอง (defense mechanisms) ในกระบวนการของจิตไร้สำนึก ฟรอยด์เป็นผู้ตั้งชื่อกลไกหลักๆ เหล่านี้ เช่น การปฏิเสธ (denial – การไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล) การหาเหตุผลให้กับตัวเอง (rationalization – การอธิบายการกระทำของตนเองด้วยจุดมุ่งหมายที่สามารถยอมรับได้) การแทนที่ (displacement – การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เก็บกดไว้ไปเป็นความรู้สึกที่สามารถยอมรับได้) การซัดโทษ (projection – การถ่ายเทความปรารถนาที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปยังบุคคลอื่น) และการชดเชย (sublimation – การเปลี่ยนความปรารถนาทางสัญญาติญาณที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สามารถยอมรับได้)
ฟรอยด์ปรับปรุงทฤษฎีของเขาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1920 และเปลี่ยนแปลงแง่มุมพื้นฐานส่วนหนึ่งของเขา เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจและทฤษฎีวิตกกังวล ในปี 1923 เขาเป็นมะเร็งที่กราม (เกิดจากการสูบซิการ์อย่างหนักตลอดชีวิตของเขา) และเข้ารับผ่าตัดหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา การเกิดขึ้นของนาซีในทศวรรษ 1930 ทำให้ชีวิตในเวียนนาของฟรอยด์ไม่ปลอดภัยมากขึ้น ในปี 1938 เขาจึงอพยพไปยังกรุงลอนดอน เป็นเวลา 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แนวคิดและทฤษฎีจำนวนมากของฟรอยด์ เช่น บทบาทของจิตไร้สำนึก ผลกระทบจากประสบการณ์ในวัยเด็กต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ และปฏิบัติการของกลไกป้องกันตัวเอง ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างทั้งความขัดแย้งทางความคิดและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง หนังสือเล่มอื่นๆ ของเขา ได้แก่ Totem and Taboo (1913) General Introduction to Psychoanalysis (1916) The Ego and the Id (1923) และ Civilization and Its Discontents (1930)

เคร็ดลับ ที่ไม่ลับ

การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย  3  รูปแบบหลัก
แบบที่ 1  ผ่านคุณสมบัติ  ->  สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio

แบบที่ 2  ผ่านคุณสมบัติ  ->  สอบข้อเขียน  + O-NET, A-NET ->
สอบสัมภาษณ์  + ดู Portfolio

แบบที่ 3  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบสัมภาษณ์  + ดู Portfolio

คุณสมบัติ
         ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะหรือสาขาเพื่อที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป

การสอบข้อเขียน
          ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด   เช่น สอบตรงนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยก็จะต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมาย มีความสามารถในการจับใจความ

การสอบสัมภาษณ์      
             โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะหรือสาขา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
            การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ      จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ  ลักษณะข้อสอบเหมือนข้อสอบอัตนัยโดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น  นักเรียนต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะหรือสาขานั้น
            การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมความสนใจ      จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียนว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงไร  คำถามที่มักพบบ่อยเช่น  "ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?"

Portfolio
     อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์ คือ แฟ้มสะสมงานหรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายขึ้น  ที่สำคัญ "คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ" ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

GAT  
 ย่อมาจาก  General  Aptitude  Test
 เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป  เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย  โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก

  เนื้อหา
  ->  การอ่าน  เขียน  คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  50%
  ->  การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  50%

ลักษณะข้อสอบ  GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย
  ->  คะแนน  300  คะแนน  เวลาสอบ  3  ชั่วโมง
  ->  ข้อสอบเน้น  Content  Free  และ  Fair
  ->  เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก
  ->  มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ

 จัดสอบปีละ  3  ครั้ง  (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม )
  ->  คะแนนใช้ได้  2  ปี  เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด  (สอบได้ตั้งแต่ม.4)


PAT  
 ย่อมาจาก   Professional  Aptitude  Test
 เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ  แบ่งเป็นทั้งหมด  6  ชุด  ประกอบด้วย

  PAT 1  วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
  -> เนื้อหา   เช่น  Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus  ฯลฯ
  ->  ลัษณะข้อสอบ  Perceptual  Ability, Calculation  skills, Quantitative  Reasoning, Math Reading Skills

  PAT 2  วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
  ->  เนื้อหา   ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
  ->  ลักษณะข้อสอบ   Perceptual  Ability, Sciences  Reading  Ability, Science  Problem  Solving  Ability ฯลฯ

  PAT 3  วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น  Engineering  Mathematics,Engineering Sciences, Life  Sciences, IT ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ   Engineering  Aptitude  i.e.  Multidimensional  Preceptual  Ability, Calculation  Skills, Engineering  Reading  Ability, Engineering  Problem  Solving  Ability

  PAT 4  วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น   Architectural  Math  and Sciences ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ  Space  Relations, Multidimensional  Perceptual  Ability, Architectural  Problem  Solving  Ability

  PAT 5  วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
    ->  เนื้อหา  เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ  ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading  Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย  การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน  ครู  ผู้บริหารโรงเรียน  ฯลฯ

  PAT 6  วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
    ->  เนื้อหา   เช่น  ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์  ดนตรี  นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์  ฯลฯ
    ->  ลักษณะข้อสอบ   ความคิดสร้างสรรค์  ฯลฯ

  PAT 7  วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่  2
    ->  เนื้อหา   จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ  เช่น  Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
    ->  ลักษณะข้อสอบ   Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills


อย่าลืมอ่านะคะเพื่อนๆ